แมร์อันนา เดอเยซูเจ้าคณะแขวงเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรมีความประสงค์ให้ก่อสร้างโรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา เพื่อรับนักเรียนหญิงในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และในเขตปริมณฑตให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา เป็นโรงเรียนในเครือเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2511มีนักเรียนรุ่นแรก 650 คน ครู 26 คนจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โดยจัดเป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมขนาดใหญ่ มัธยมศึกษาขนาดกลางและโรงเรียนดำเนินโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(English Program) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547
ประวัติคณะภคินี เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร
(A History of Sister of Si. Paulde Chartres)
ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 คุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ เจ้าอาวาสวัดประจำตำบลเลอเวส์วิลล์ ลา เชอนาร์ด (Levesville-la-Chenard) สังฆมณฑลชาร์ตร ประเทศฝรั่งเศส ได้เห็นความทุกข์ร้อนของสัตบุรุษของท่าน ทั้งด้านวัตถุและด้านจิตวิญญาณอันเป็นผลของสงครามในบริเวณที่ราบโบส จึงดำริที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตในสภาพที่ดีขึ้น โดยได้รวบรวมเด็กสาวจำนวนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะถวายตัวแด่พระเป็นเจ้า
งานริเริ่มของท่านได้รับความร่วมมือจาก ดามัวแชล มารีอานน์ เดอ ตียี ผู้ให้การอบรมภคินีรุ่นแรกของคณะ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า"คณะธิดาโรงเรียน" เพราะสอนอ่านเขียน สอนคำสอน เย็บปักถักไหมพรมแก่เด็กหญิงในหมู่บ้าน
ภคินียีงอุทิศตนดูแลเอาใจใส่คนเจ็บป่วยและเด็กกำพร้า ขณะเดียวกันยังต้องหาเลี้ยงชีพด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเองเพื่อมิให้เป็นภาระแก่วัด
พ.ศ. 2250 ภคินี 2 คนได้รับเรียกให้ไปทำงานที่หมู่บ้านห่างไกลใน ชาโตเนิฟ ณ ที่นี้เองพระสีงฆราชปอล โกเดต์ เดมาเรสต์แห่งสังฆมณฑลชาร์ตรได้มาเยี่ยมสัตบุรุษและได้เห็นความกระตือรือร้นในการทำงานของภคินี จึงมีความปรารถนาจะให้ไปแพร่ธรรมในเขตอื่น ๆ ด้วยในปีต่อมาท่านจึงได้มอบบ้านหลังใหญ่ใกล้อาสนวิหารพระมารดาแห่งชาร์ตรให้เป็นบ้านศูนย์กลางของคณะและได้ตั้งชื่อให้คณะว่า " ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร" พ.ศ. 2270ท่านเคาท์แห่ง โบเรอปา ผู้บัญชาการทหารเรือได้มีหนังสือในนามของกษัตริย์ของภคินีจำนวน4 คนไปทำงานรักษาพยาบาลแก่ทหารเรือที่เกิดโรคระบาดเจ็บป่วยในค่ายกักกันที่ประเทศกายอานาทวีปอเมริกาใต้ นับเป็นการเริ่มงานแพร่ธรรมในต่างประเทศเป็นครั้งแรก จวบจนปี พ.ศ. 2532 คณะปฎิบัติงานอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 27ประเทศ
ประวัติศาสตร์และชีวิตของคณะ ดำเนินไปตามเสียงเรียกร้องของพระศาสนจักร ในการพัฒนาเพื่อนมนุษย์ ด้านสุขภาพอนามัย สติปัญญา การดำรงชีพและด้านจิตวิญญาณ
สมาชิกทั่วโลกถ่ายทอดพระพรพิเศษและจิตตารมณ์ของคณะสืบต่อกันมาเป็นแนวดำเนินชีวิตในความเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้การทรงนำของพระจิตเจ้า และคำแนะนำของสมเด็จพระสันตะปาปาและผู้แทนของพระองค์ในพระศาสนจักรท้องถิ่น
งานในประเทศไทย
พ.ศ. 2441 พระสังฆราชหลุยเวย์ ได้ขอภคินีเซนต์ปอล เดอชาตร์มาทำงานด้านการพยาบาลที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ มีภคินีรุ่นแรกเดินทางมาทำงานด้านการรัำกษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ มีภคินีรุ่นแรกเดินทางมา 7 คน เข้าทำการรักษาพยาบาลสงเคราะห์เด็ก คนชรา ออกหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ และสอนนักเรียนพยาบาล
พ.ศ. 2448 คุณพ่อกอลอมเบต์ ขอให้คณะมาเปิดโรงเรียนคาทอลิกสำหรับเด็กหญิง สอนภาษาต่างประเทศ ดนตรี และการฝีมือจึงเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นแห่งแรกภคินีทำงานด้านการศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนา ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ
ภคินีอุทิศตนรับใช้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย
ทุกวัน ภคินีร่วมถวายบูชามิสซา อันเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิตของเธอ เพื่อถวายตนเองและกิจการต่าง ๆร่วมกับการบูชาของพระคริสตเจ้า
ภคินีดำรงชีวิตอยู่ในหมู่คณะ แบ่งปันและสนับสนุนกันและกัน ในการปรนนิบัติพระเป็นเจ้าและรับใช้เพื่อนมนุษย์
จิตตารมณ์ของภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร
พื้นฐานจิตตารมณ์ของภคินี มาจากคำสอนของนักบุญเปาโล คือ มีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางชีวิต ดุจเดียวกับพระแม่มารีองค์อุปถัมภ์ของคณะอันเป็นแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการถวายตนแด่พระเป็นเจ้า ทำงานประกาศพระวรสารของพระองค์ในงานรับใช้พระศาสนจักรและเพื่อนมนุษย์จิตตารมณ์ของคณะสรุปอยู่ในสามคำนี้ "ซื่อสัตย์ ราบเรียบ การงาน"