นโยบายการเรียนการสอน
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว โรงเรียนจะดำเนินการดังนี้
1. ส่งเสริมและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
2. ปลูกฝังนักเรียนให้ยึดมั่นในศาสนา คุณธรรม จริยธรรม โดยเป็นผู้มีจิตใจงามและเป็นบุคคลเพื่อผู้อื่น
3. พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
4. สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการตามระบบบริหารงานของโรงเรียน
นโยบายการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2556
ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา ได้กำหนด นโยบายการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับโรงเรียนเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ดังนี้...
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สอนเป็นภาษาอังกฤษโดยครูชาวต่างชาติ สัปดาห์ละ 1 คาบ เริ่มตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3
2. จัดหน่วยการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง “ประชาคมอาเซียน” ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6
3. ส่งเสริม “การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended Essay)” ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ ภาษาต่างประเทศ ตั้งแต่ระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาpk pk Ph d ؞k k @ k รเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based -Learning)” เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเป็นระบบ และเกิดองค์ความรู้ มีส่วนร่วมในการตั้งคำถาม และสามารถสื่อสาร พร้อมนำเสนอผลการค้นพบของตนเองได้
5. เพื่อเป็นการขยายขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้จากห้องเรียนสู่โลกอันกว้างใหญ่ โดยนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เช่นวิกฤตการณ์ทางด้านธรรมชาติ ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้ “คุณค่าทางพระวรสาร (Gospel Values)” เป็นหลักในการ
วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในรายวิชา
นโยบายการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2555
เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา ได้วางนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีความรู้ทักษะ สำหรับมนุษย์ศตวรรษที่ 21 โดยได้กำหนดการพัฒนา 4 ทักษะพื้นฐานอันเป็นคุณลักษณะที่เหมาะสมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ดังนี้...
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) คิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) ในทุกกลุ่มสาระวิชาโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) มากกว่าผลที่ได้ (Achievements) ด้วยการสร้างนิสัยการสร้างความคิดเชิงวิเคราะห์ให้เกิดขึ้นในทุกวิชาโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่า ตัวสาระวิชา และใช้เทคนิคการสอนแบบ Inquiry Based Learning เพื่อช่วยสร้างให้เกิดนิสัยใคร่รู้ สังเกต ตั้งคำถาม หาคำตอบ ตั้งสมมุติฐาน ลงมือปฏิบัติ และเก็บข้อมูล นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังส่งเสริมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนด้วยการใช้เทคนิคการสอนแบบ Creative Thinking อีกด้วย
2. ทักษะการติดต่อสื่อสาร (Communication) ด้วยการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งถูกกำหนดในข้อตกลงเบื้องต้นให้ใช้เป็นภาษาอาเซียน และภาษาจีน อันเป็นภาษาของประเทศเพื่อนบ้านอีก 1 ภาษา โดยเน้นการอ่าน (Reading) การเขียน (Writing) และความรอบรู้ในด้านคณิตศาสตร์ (Arithmetic)
3. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ด้วยการส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนให้มีความพร้อมรับการเป็นพลเมืองอาเซียน และรู้จัก ค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา...
4. ทักษะการมีส่วนร่วม (Collaboration) ด้วยการส่งเสริมความสามารถในการทำงานเป็นทีม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักแก้ไขปัญหาได้อย่างสันติวิธี และมีความสามารถในการจัดการอารมณ์ ควบคุมตนเองได้ โดยผ่านทางกิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
นโยบายการพัฒนาผู้เรียนแบบบันได 4 ขั้น
โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้รอบด้าน จึงได้จัดทำนวัตกรรมการสอนนักเรียนแบบบันได 4 ขั้นขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเต็มตามศักยภาพของตนเอง โดยเชื่อว่า เนื่องและเต็มตามศักยภาพของตนเอง พลเมืองที่ดีของโลก แต่ละย่างก้าวของนักเรียนจะต้องเป็นย่างก้าวที่มั่นคงและพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองที่ดีของโลก
บันไดขั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 “พื้นฐานแน่น”
ตัวชี้วัดระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
1. อ่าน เขียน คำ พื้นฐานภาษาไทยได้อย่างน้อย 800 คำ และสามารถเขียนประโยคง่ายๆได้
2. บวก ลบ จำนวนนับไม่เกิน 100 และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
3. คิดและคำนวณบวกเลขสองหลักโดยอาศัยการคิดคำนวณในใจ (จินตคณิต)
4. มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยเน้น การสังเกต การทำงานกลุ่มและการทดลอง
5. อ่าน เขียน และบอกความหมายของคำภาษาอังกฤษได้ไม่น้อยกว่า 150 คำ
6. ใช้ภาษาอังกฤษในการพูดทักทาย และแนะนำตนเอง
7. ใช้ภาษาจีนในการพูดทักทาย และสื่อสารอย่างง่ายๆได้
8. มีทักษะชีวิตในเรื่องการรู้จักตนเอง เรื่องของโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัดระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2
1. อ่าน เขียน คำ พื้นฐานภาษาไทยได้อย่างน้อย 1,000 คำ สามารถอ่านและเขียนเรื่องสั้นได้
2. บวก ลบ จำนวนนับไม่เกิน 1,000 คูณจำนวนหนึ่งหลักกับจำนวนไม่เกินสองหลัก และหาร ที่มี ตัวหารหนึ่งหลัก และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
3. คิดและคำนวณบวกเลขสองหลักโดยอาศัยการคิดคำนวณในใจ (จินตคณิต)
4. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถท่องสูตรคูณแม่ 2 ถึง แม่ 9 ได้
5. มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยเน้นการจำแนก การเปรียบเทียบ และทดลอง
6. อ่าน เขียน และบอกความหมายของคำภาษาอังกฤษได้ไม่น้อยกว่า 300 คำ
7. ใช้ภาษาอังกฤษในการพูดทักทาย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัวและเพื่อน
8. ใช้ภาษาจีนในการพูดและเขียนเป็นคำ ๆ ได้
9. มีทักษะชีวิตยอมรับความแตกต่างระหว่างตนเองกับผู้อื่น ควบคุมอารมณ์
ตัวชี้วัดระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
1. อ่าน เขียน คำ พื้นฐานภาษาไทยได้อย่างน้อย 1,200 คำ สามารถอ่านและเขียนเรื่องที่กำหนดได้
2. บวก ลบ จำนวนนับไม่เกิน 10,000 คูณ จำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลัก หารตัวตั้งไม่เกินสี่หลัก ตัวหารมีหนึ่งหลัก และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
3. คิดและคำนวณบวกเลขสามหลักโดยอาศัยการคิดคำนวณในใจ (จินตคณิต)
4. ท่องสูตรคูณแม่ 2 ถึง แม่ 12 และท่องย้อนกลับได้
5. มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยเน้นการรวบรวมข้อมูล การเชื่อมโยงและสามารถทำโครงงานได้
6. อ่าน เขียน และบอกความหมายของคำภาษาอังกฤษได้ไม่น้อยกว่า 450 คำ
7. ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันได้
8.ใช้ภาษาจีนในการพูดและเขียนเป็นประโยคสั้น ๆ ได้
9. มีทักษะชีวิตมองตนเองและผู้อื่นในแง่บวกจัดการอารมณ์ตนเองได้
บันไดขั้นที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 “ลึกซึ้งในวิชาการ”
นักเรียนรอบรู้ในเนื้อหา มีทักษะกระบวนการคิด และการสื่อสาร สามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ ใช้ในการดำเนินชีวิตได้
ตัวชี้วัดระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
1. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.50
2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์
3. สื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
4. นำความรู้ไปพัฒนาตนเองและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
ตัวชี้วัดระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.50
2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
3. สื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
4. นำความรู้ไปพัฒนาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
ตัวชี้วัดระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
1. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.75
2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง คิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
3. สื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
4. นำความรู้ไปพัฒนา ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเอง ครอบครัว และสังคม
บันไดขั้นที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 “ค้นพบตัวเอง”
ส่งเสริมให้นักเรียนค้นพบศักยภาพและความถนัดทางด้านการเรียนของตนเอง มีความมั่นใจ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และเลือกแนวทางในการศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนา
มัธยมศึกษาปีที่ 1
1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. สำรวจความถนัดในการเรียนของนักเรียนแต่ละบุคคล
มัธยมศึกษาปีที่ 2
1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพตามความถนัดของนักเรียนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกแนวทางในการศึกษาต่อ
มัธยมศึกษาปีที่ 3
1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. นักเรียนตัดสินใจและเลือกแนวทางในการศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม
บันไดขั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 “สู่อาชีพที่ต้องการ”
นักเรียนนำศักยภาพและความถนัดของตนเองมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาต่อเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนา
มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6
1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ทำแบบสำรวจอาชีพ และเชิญวิทยากรมาบรรยายในอาชีพนั้นๆเพื่อให้นักเรียนเกิดความชัดเจนในอาชีพก่อนตัดสินใจเรียนต่อในสายอาชีพนั้น ๆ หรือพานักเรียนไปศึกษาดูงานในอาชีพต่าง ๆ จากการจัดอันดับอาชีพที่น่าสนใจ 10 อันดับ
3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในกลุ่มประชาคมอาเซียน
4. จัดสอนเสริมวิชาเฉพาะให้กับนักเรียนที่สนใจเช่น ความถนัดทางแพทย์ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น